วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

2. การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้
2.1 อุปกรณ์
1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)
2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )
3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด
4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด
5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี
6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ – เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง
7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ
1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด
2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้
3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม
4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในสมุดบันทึกดังนี้
· ท้องที่ที่เก็บ ( Locality ) บันทึกรายละเอียดของจังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน หรือท้องที่ป่า
· ความสูงจากระดับน้ำทะเล( altitude ) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอัลติมิเตอร์ ( altimeter )
· วันเดือนปีที่เก็บ ( date )
· ชื่อพื้นเมือง ( Local name )
· ข้อมูลอื่น ๆ ( note ) ลักษณะของพืชที่ ลักษณะวิสัยของพืช ความสูงของต้น ลักษณะของพืชที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อตัวอย่างแห้ง เช่น สี กลิ่น เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นนั้น ๆ
· ชื่อผู้เก็บ (collector ) และหมายเลขที่เก็บ ( collecting number ) แต่ละคนจะใช้หมายเลขของตนเรียงลำดับติดต่อกันไป

2.3 วิธีการอัดแห้ง
นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้
อนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยาว ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.4 การอาบน้ำยา
ก่อนที่จะนำตัวอย่างพรรณไม้ที่ทำให้แห้งแล้วไปติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ควรอาบน้ำยาก่อนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูมากัดทำลาย จะช่วยให้เก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งไว้ได้นาน
2.4.1. อุปกรณ์
1) อ่างเคลือบ หรือ อ่างพลาสติก ขนาด 12 x 20 นิ้ว 1 ใบ
2) ปากคีบพลาสติก หรือ ไม้ที่มีด้ามยาว 1 – 2 อัน
3) ถุงมือ 1 คู่ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสน้ำยา
4) หน้ากากป้องกันกลิ่น
5) น้ำยาอาบพรรณไม้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
ฟีนอล 20 มิลลิลิตร
เมอคิวริกคลอไรด์ 28 กรัม
แอลกอฮอล์ล 95 % 1 ลิตร

ข้อควรระวัง น้ำยาอาบพรรณไม้นี้เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรสูดดมหรือสัมผัสถูกร่างกาย เวลาใช้ควรใส่หน้ากากและถุงมือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะจะถูกน้ำยากัดจนเสียหายได้ และไม่ควรเทน้ำยาผ่านท่อระบายน้ำ
2.4.2 วิธีการ
1) เทน้ำยาอาบพรรณไม้ลงในอ่างเคลือบ
2) นำตัวอย่างพรรณไม้ที่แห้งสนิทดีแล้วแช่ลงในน้ำยาประมาณ 1 นาที ให้น้ำยาท่วมตัวอย่าง
3) ใช้ปากคีบ คีบตัวอย่างมาวางลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ วางเรียงซ้อนกัน แล้วคั่นและปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก นำเข้าแผงอัดพรรณไม้เหมือนตอนที่อัดตัวอย่าง
4) มัดแผงให้แน่น แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง

2.5 การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้
เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้
2.5.1 อุปกรณ์
1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก
2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว
3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาวอย่างดี
2.5.2 วิธีการ
1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้
2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา
3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น
ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ
ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม

2.6 การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้
หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย
1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ
2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง
3) ชื่อพื้นเมือง (local name)
4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การกระจายพันธุ์ ของพรรณไม้นั้น และในกรณีที่ต้องการตัวอย่างสดมาศึกษาวิจัยก็สามารถที่ติดตามแหล่งที่พืชนั้นเจริญอยู่ได้
5) วันเดือนปี ที่เก็บ ( date )
6) ลักษณะของพืชที่สังเกตเห็น (remark , note) เช่น
- habit ลักษณะของทรงพุ่ม เรือนยอด เปลือก ไม้ต้น ไม้ล้มลุก
- habitat ที่อยู่อาศัย ลักษณะสภาพของพื้นที่ที่พืชนั้นขึ้นอยู่

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

การเปรียบเทียบลักษณะของต้นข่ากับคน
การเปรียบเทียบด้านรูปร่าง
ด้านเหมือน
1.ต้นข่ามีลำต้นตั้งอยู่บนพื้นดิน เปรียบเสมือน ขาของคนที่มีไว้ยืน
2.ต้นข่ามีรากไว้ดูดสารอาหาร เปรียบเสมือน ปากของคนที่มีไว้กินอาหาร
3.ต้นข่ามีใบไว้สังเคราะห์อาหาร เปรียบเสมือน แขนขาของคนที่มีไว้ทำมาหากิน
ด้านต่าง
1.ต้นข่าหายใจทางใบแต่คนหายใจทางจมูก
2.ต้นข่ากินปุ๋ยและแร่ธาตุเป็นอาหารแต่คนกินข้าวเป็นอาหาร
การเปรียบเทียบด้านจิตใจ
ด้านเหมือน
1.ต้นข่าต้องการความดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของเหมือนกับคนที่ต้องการความดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรัก
ด้านต่าง
1.ต้นข่าไม่มีหัวใจเหมือนคน

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

เรื่อง การทำตัวอย่างพรรณไม้ดอง
การนำตัวอย่างพืชที่เก็บได้นำไปแช่ในน้ำยาดองที่เหมาะสม น้ำยาที่นำมาดองนี้โดยทั่วไปนอกจากจะฆ่าเซลล์แล้ว ยังรักษาสภาพเซลล์ด้วย ชิ้นส่วนของพืชที่ดองไว้บางสูตรของน้ำยาสามารถที่จะนำสไลด์ถาวรได้ด้วย วิธีนี้ถ้าถ้าพืชขนาดเล็กอาจดองได้ทั้งต้น แต่ถ้าเป็นพืชขนาดใหญ่ก็จะใช้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 97-95 มิลลิลิตร
1.2 เอธิลแอลกอฮอล์ 70%
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร

1.3 เอฟเอเอ(ฟอร์มาลิน อะซิติก แอลกอฮอล์)

ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร

ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม

พรรณไม้ดอง ( ข่า )





ภาพข่าดองทั้งหมด

ภาพข่าดองตามขวาง


ภาพข่าดองตามยาว

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง ข่า รหัสพรรณไม้ 7-30240-001-073
สภาพนิเวศน์ อยู่บนบก กลางแจ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย

ไม้ล้มลุก ความสูง 1.36 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 0.66 เมตร รูปร่างทรงพุ่มรูปไข่


ลำต้นเป็นลำต้นใต้ดิน เป็นเหง้า ผิวลำต้นเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนสีขาว ต้นแก่สีเหลือง ไม่มีน้ำยาง






ใบ ข่า เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเขียว ขนาดแผ่นใบกว้าง 7.8 เซนติเมตร ยาว 26.5 เซนติเมตร ด้านหน้าใบเส้นกลางใบเว้า ด้านหลังใบนูน ใบเรียงสลับ แผ่นใบรูปแถบ ปลายใบแหลม โคนใบ มน ขอบใบเรียบ

บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ข่า 7-30240-001-073/4


ชื่อพื้นเมือง ข่า
กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง) ข่า (ทั่วไป)
ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ)
เสะเอเคย สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga (L.) Willd.

ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE


ชื่อสามัญ -


ประโยชน์ เหง้าสดช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
และแก้ลมพิษ