วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่7 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.ครูนำเอกสารตัวอย่างที่มีการกรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือยกตัวอย่างข้อมูล เช่น ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนแต่ละวิชาในชั้นเรียน แล้วให้เรียนตอบคำถามรายบุคคล โดยให้ดูจากข้อมูล แล้วตอบว่าส่วนใดคือฟิลด์ เรกคอร์ดไฟล์ หรือไบต์
ตอบ ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนแต่ละวิชา
๒.ให้นักเรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล เมื่อครูยกตัวอย่างกรณีศึกษาว่า ถ้าต้องการนำข้อมูลนักเรียนไปจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นข้อมุลสำหรับงานทะเบียน ในการบันทึกผลคะแนนให้แก่นักเรียนแต่ละบุคคล และสำหรับงานปกครอง เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูล นักเรียนที่มาสาย ลา หรือขาดเรียน เราควรจะประมวลผลข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลหรือแบบฐานข้อมูล
ตอบ แฟ้มข้อมูล
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูล
ตอบ CD-R, RW, DVD
การเก็บข้อมูลโดยใช้ CD-Rom ข้อเสียอย่างหนึ่งคือการที่บันทึกซ้ำแผ่นเดิม ไม่ได้ในกรณีที่ไม่ได้เป็น RW ถึงแม้จะเขียนซ้ำได้ก็ต้องทำการเขียนใหม่ทั้งแผ่น ซึ่งไม่สะดวกเลยหากเราต้องการแก้ไข บันทึกเพียงบางส่วน แต่ข้อดีก็คือเราสามารถนำพาแผ่น CD-Rom ไปเปิดใช้ได้ทุกทีที่มี CD-Drive โดยเฉพาะตอนนี้เครื่องเขียน CD มีราคาต่ำลงมาก และความเร็วในการเขียนก็เร็วขึ้นมากประมาณ 2400 Byte / Sec (x16) หนึ่งแผ่น 650 MB ใช้เวลาเขียนทั้งแผ่นประมาณ 5 นาที ยิ่งตอนนี้มีเครื่อง Write แผ่น DVD ออกมาซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 GB เลยทีเดียว แต่ตอนนี้ราคาของมันก็ยังคงสูงอยู่พอสมควร ส่วนเรื่อง Interface ของเครื่อง CD Writer ที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์นั้นก็มีหลายแบบไม่ว่าจะเป็น IDE, SCSI, หรือจะเป็นแบบ Removable แบบ Parallel, USBการเก็บข้อมูล เพราะว่าแผ่น DVD 1 แผ่น

บทที่7 กิจกรรมฝึกทักษะ

๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ที่สุดตามลำดับต่อไปนี้๑.๑ บิต๑.๒ อักขระ๑.๓ ไบต์๑.๔ ฟิลด์๑.๕ เรกคอร์ด๑.๖ ไฟล์๑.๗ ฐานข้อมูล
๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ๑. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)๒. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบ ลักษณะการประมวลผลแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ การประมวลผลแบบสุ่มและการประมวลผลแบบทันที การเลือกลักษณะการประมวลผลข้อมูลแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการสารสนเทศในงานแต่ละงาน
๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ โครงสร้างข้อมูลมี ๓ ประเภท มีความแตกต่างกันดังนี้โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ จะถูกบันทึกแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง เวลาดูข้อมูต้องดูตั้งแต่หน้าแรก แต่โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม สามารถกระโดดไปยังตำแหน่งที่ต้องการดูได้เลยไม่ต้องดูตั้งแต่หน้าแรก ส่วนโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับดรรชนี ก็คือจะเป็นการรวมเอาความสามารถของโครงสร้างข้อมูลสองอันแรกรวมเข้าด้วยกัน
๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้
ตอบ แฟ้มข้อมูลจะมีการประมวลผลในแต่ละประเภทที่รู้แตกต่างกันออกไป แต่ระบบฐานข้อมูลจะประมวลที่ละหลายๆแฟ้มข้อมูลพร้อมกันเลย

บทที่6 กิจกรรมส่วเสริมการเรียนรู้

๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด
ตอบ FPP สามารถย้ายจากเครืองเก่าไปเครื่องใหม่ได้OEM ไม่สามารถย้ายไปเครื่องใหม่ได้ซื้อแบบ FPP เพราะ ถ้าเครื่องเก่าเสียหายหรือพังก็สามารถย้ายข้อมูลใส่เครื่องอื่นได้
๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดว่า การเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindows จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้เบริโภค และมีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคด้านการเงิน ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์ เพราะ แต่ละลิขสิทธิ์ก็ล้วนแต่มีเจ้าของลิขสิทธิ์
๓.ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กับการพฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าดูแลพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองแต่ยังมีปัญหาเรื่องของการเผยแพร่และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศในอนาคต
ตอบ จัดนิทรรศการให้คนไทยได้ชม ได้รับรู้คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่คนไทยผลิตขึ้นเอง และจะทำให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในอนาคต

บทที่6 กิจกรรมฝึกทักษะ

๑.บอกความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ระบบปฏิบัติการหมายถึง โปรแกรม โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หน้าที่หลักประกอบด้วย3 หลัก ได้แก่ การติดต่อกับผู้ใช้การควบคุมอุปกรณ์และการทำงานต่างๆของคอมพิวเตอร์ และการจัดสรรทรัพยากรภายในระบบ
๒. จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทดังนี้ ๑.ประเภทคอมมานด์ไลน์ Command Line ๒. ประเภทกราฟิกGUI : Graphical User Inteface
๓.อธิบายองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ทุกประเภทต้องมีเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติการ และประมวลผล มี๕ องค์ประกอบคือ ๑ การจัดการไฟล์ ๒.การจัดการหน่วยความจำ ๓.การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล๔.การจัดการกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU Management)ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆงานพร้อมกันได้เรียกว่า "Multi-Tasking" แต่ในความจริงแล้ว CPU สามารถทำงานได้ครั้งละคำสั่งเท่านั้นดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องแบ่งเวลาของ CPU ๕.การจัดการความปลอดภัยของระบบ (Protection System)ภายในระบบปฏิบัติการมีการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในระดับหนึ่งโดยการกำหนดขั้นตอนการ log on เพื่อตรวจสอบสิทธิของผู้ที่เข้าไปใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้รหัสผ่าน
๔.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้ตอบ ๑.ดอส (DOS)๒.วินโดวส์ (windows)๓.ยูนิกซ์ (Unix)๔.ลินุกส์ (Linux)๕.แมคอินทอช (Macintosh)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ บทที่ 5

1. ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตโดยใความหมาย Open source และให้บอกซอฟแวร์โอเพนซอร์ชที่รู้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด
ตอบ Open Source คือซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ เช่น- Linux- 7-zip- pdfcreator
๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และบอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ตอบ +Cfont Pro โปรแกรมแสดงรูปแบบของตัวอักษร(font)คุณสมบัติง่ายต่อการใช้งาน แค่ติดตั้งโปรแกรม โปรแกรมก็จะดึงFont ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราออกมาแสดงรูปแบบให้ดู
๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ที่บังตับใช้ในปัจจุบันตอบลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือ“สิทธิในการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยินยอมให้ผู้ใช้ปลายทางใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ตามรายละเอียดและเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตใช้งานสำหรับผู้ใช้ปลายทาง (End User License Agreement: EULA)”
๔.ให้นักเรียนเสสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ตอบ ไม่เห็นด้วย เพราะ ในการนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้ในสถานศึกษาเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคคลากรในสถานศึกษามากมายจึงไม่ควรให้จ่ายค่าลิขสิทธ์

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่5 เรื่องซอฟแวร์(software) กิจกรรมฝึกทักษะ

๑.บอกความหมายและประเภทของซอฟต์แวร์ได้

ตอบ ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ มี 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้

ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนามาหลายยุกต์หลายสมัย การใช้ภาษาจะมีความใกล้เคียงกันกับภาษาเครื่องทำให้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์โดยตรงและได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นรูปแบบภาษามีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ

๓อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษา
ตอบ
1. คอมไพเลอร์ (compiler) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ (source program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (object program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรมและสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีกโดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
2.อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเตอร์พรีเตอร์จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเตอร์พรีเตอร์ก็คือ ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น
3.แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

2. การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้
2.1 อุปกรณ์
1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)
2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )
3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด
4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด
5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี
6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ – เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง
7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ
1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด
2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้
3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม
4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในสมุดบันทึกดังนี้
· ท้องที่ที่เก็บ ( Locality ) บันทึกรายละเอียดของจังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน หรือท้องที่ป่า
· ความสูงจากระดับน้ำทะเล( altitude ) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอัลติมิเตอร์ ( altimeter )
· วันเดือนปีที่เก็บ ( date )
· ชื่อพื้นเมือง ( Local name )
· ข้อมูลอื่น ๆ ( note ) ลักษณะของพืชที่ ลักษณะวิสัยของพืช ความสูงของต้น ลักษณะของพืชที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อตัวอย่างแห้ง เช่น สี กลิ่น เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นนั้น ๆ
· ชื่อผู้เก็บ (collector ) และหมายเลขที่เก็บ ( collecting number ) แต่ละคนจะใช้หมายเลขของตนเรียงลำดับติดต่อกันไป

2.3 วิธีการอัดแห้ง
นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้
อนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยาว ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.4 การอาบน้ำยา
ก่อนที่จะนำตัวอย่างพรรณไม้ที่ทำให้แห้งแล้วไปติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ควรอาบน้ำยาก่อนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูมากัดทำลาย จะช่วยให้เก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งไว้ได้นาน
2.4.1. อุปกรณ์
1) อ่างเคลือบ หรือ อ่างพลาสติก ขนาด 12 x 20 นิ้ว 1 ใบ
2) ปากคีบพลาสติก หรือ ไม้ที่มีด้ามยาว 1 – 2 อัน
3) ถุงมือ 1 คู่ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสน้ำยา
4) หน้ากากป้องกันกลิ่น
5) น้ำยาอาบพรรณไม้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
ฟีนอล 20 มิลลิลิตร
เมอคิวริกคลอไรด์ 28 กรัม
แอลกอฮอล์ล 95 % 1 ลิตร

ข้อควรระวัง น้ำยาอาบพรรณไม้นี้เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรสูดดมหรือสัมผัสถูกร่างกาย เวลาใช้ควรใส่หน้ากากและถุงมือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะจะถูกน้ำยากัดจนเสียหายได้ และไม่ควรเทน้ำยาผ่านท่อระบายน้ำ
2.4.2 วิธีการ
1) เทน้ำยาอาบพรรณไม้ลงในอ่างเคลือบ
2) นำตัวอย่างพรรณไม้ที่แห้งสนิทดีแล้วแช่ลงในน้ำยาประมาณ 1 นาที ให้น้ำยาท่วมตัวอย่าง
3) ใช้ปากคีบ คีบตัวอย่างมาวางลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ วางเรียงซ้อนกัน แล้วคั่นและปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก นำเข้าแผงอัดพรรณไม้เหมือนตอนที่อัดตัวอย่าง
4) มัดแผงให้แน่น แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง

2.5 การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้
เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้
2.5.1 อุปกรณ์
1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก
2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว
3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาวอย่างดี
2.5.2 วิธีการ
1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้
2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา
3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น
ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ
ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม

2.6 การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้
หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย
1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ
2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง
3) ชื่อพื้นเมือง (local name)
4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การกระจายพันธุ์ ของพรรณไม้นั้น และในกรณีที่ต้องการตัวอย่างสดมาศึกษาวิจัยก็สามารถที่ติดตามแหล่งที่พืชนั้นเจริญอยู่ได้
5) วันเดือนปี ที่เก็บ ( date )
6) ลักษณะของพืชที่สังเกตเห็น (remark , note) เช่น
- habit ลักษณะของทรงพุ่ม เรือนยอด เปลือก ไม้ต้น ไม้ล้มลุก
- habitat ที่อยู่อาศัย ลักษณะสภาพของพื้นที่ที่พืชนั้นขึ้นอยู่

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

การเปรียบเทียบลักษณะของต้นข่ากับคน
การเปรียบเทียบด้านรูปร่าง
ด้านเหมือน
1.ต้นข่ามีลำต้นตั้งอยู่บนพื้นดิน เปรียบเสมือน ขาของคนที่มีไว้ยืน
2.ต้นข่ามีรากไว้ดูดสารอาหาร เปรียบเสมือน ปากของคนที่มีไว้กินอาหาร
3.ต้นข่ามีใบไว้สังเคราะห์อาหาร เปรียบเสมือน แขนขาของคนที่มีไว้ทำมาหากิน
ด้านต่าง
1.ต้นข่าหายใจทางใบแต่คนหายใจทางจมูก
2.ต้นข่ากินปุ๋ยและแร่ธาตุเป็นอาหารแต่คนกินข้าวเป็นอาหาร
การเปรียบเทียบด้านจิตใจ
ด้านเหมือน
1.ต้นข่าต้องการความดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของเหมือนกับคนที่ต้องการความดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรัก
ด้านต่าง
1.ต้นข่าไม่มีหัวใจเหมือนคน

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

เรื่อง การทำตัวอย่างพรรณไม้ดอง
การนำตัวอย่างพืชที่เก็บได้นำไปแช่ในน้ำยาดองที่เหมาะสม น้ำยาที่นำมาดองนี้โดยทั่วไปนอกจากจะฆ่าเซลล์แล้ว ยังรักษาสภาพเซลล์ด้วย ชิ้นส่วนของพืชที่ดองไว้บางสูตรของน้ำยาสามารถที่จะนำสไลด์ถาวรได้ด้วย วิธีนี้ถ้าถ้าพืชขนาดเล็กอาจดองได้ทั้งต้น แต่ถ้าเป็นพืชขนาดใหญ่ก็จะใช้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 97-95 มิลลิลิตร
1.2 เอธิลแอลกอฮอล์ 70%
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร

1.3 เอฟเอเอ(ฟอร์มาลิน อะซิติก แอลกอฮอล์)

ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร

ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม

พรรณไม้ดอง ( ข่า )





ภาพข่าดองทั้งหมด

ภาพข่าดองตามขวาง


ภาพข่าดองตามยาว

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง ข่า รหัสพรรณไม้ 7-30240-001-073
สภาพนิเวศน์ อยู่บนบก กลางแจ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย

ไม้ล้มลุก ความสูง 1.36 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 0.66 เมตร รูปร่างทรงพุ่มรูปไข่


ลำต้นเป็นลำต้นใต้ดิน เป็นเหง้า ผิวลำต้นเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนสีขาว ต้นแก่สีเหลือง ไม่มีน้ำยาง






ใบ ข่า เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเขียว ขนาดแผ่นใบกว้าง 7.8 เซนติเมตร ยาว 26.5 เซนติเมตร ด้านหน้าใบเส้นกลางใบเว้า ด้านหลังใบนูน ใบเรียงสลับ แผ่นใบรูปแถบ ปลายใบแหลม โคนใบ มน ขอบใบเรียบ

บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ข่า 7-30240-001-073/4


ชื่อพื้นเมือง ข่า
กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง) ข่า (ทั่วไป)
ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ)
เสะเอเคย สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga (L.) Willd.

ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE


ชื่อสามัญ -


ประโยชน์ เหง้าสดช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
และแก้ลมพิษ

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล






















อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

อุปกรณ์บันทึกข้อมูล
อุปกรณ์ที่นิยมใช้เก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ มี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk ) และแผ่นบันทึกข้อมูล ฮาร์ดดิสก์มีลักษณะเป็นวัสดุแข็ง มักจะติดตั้งอยู่ในเครื่องขับ ส่วนแผ่นบันทึกข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ อ่อนจนโค้งงอได้ ส่วนใหญ่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุข้อมูลตั้งแต่ 360 กิโลไบต์ ถึง 2.88 เมกะไบต์ สามารถถอดออกจากตัวเครื่องขับแผ่นบันทึกข้อมูล เนื่องจากฮาร์ดดิสก์มีกลไกการทำงานที่ละเอียดกว่า จึงทำให้มีความจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึก มีความเร็วในการอ่านหรือบันทึกข้อมูลเร็วกว่าแผ่นบันทึกมาก
นอกจากนี้ยังมีซีดีรอม ( CD-ROM ) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับแผ่นบันทึกเสียงเพลง การอ่านข้อมูลทำโดยการใช้แสงเลเซอร์ขนาดเล็กลงมากส่องลงไปบนช่องสัญญาณแล้วแปลงเป็นรหัส ดิจิทัลซีดีรอมมีความสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึก

การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์


อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึงสื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูล สำหรับการเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภทดังนี้

สายโทรศัพท์ (Telephone Line) สายโทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้กันมานาน ในระบบการสื่อสารข้อมูล แบ่งเป็นสองลักษณะด้วยกันคือ

สายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshield Twisted Pair : UTP) มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็ก มีฉนวนหุ้ม ในแต่ละคู่บิดเกลียวคู่เข้าด้วยกัน มีฉนวนหุ้มภายนอก ราคาถูก ติดตั้งง่าย มีความน่าเชื่อถือสูงในการเชื่อมต่อแบบ STAR แต่มีข้อเสียคือมีอัตราการส่งข้อมูลต่ำ มีระยะทางการส่งสัญญาณสั้น และสัญญาณรบกวนสูง

สายคู่ตีเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shield Twisted Pair : STP) มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กตีเกลียวคู่ แต่ละคู่มีฉนวนหุ้มอีกชั้นเรียกว่า Shield เพื่อลดสัญญาณสอดแทรก(interference) และมีฉนวนหุ้มชั้นนอกเรียกว่า Outer Jacket มีข้อดีคือคุณภาพการรับส่งข้อมูลสูงกว่าสายแบบ UTPสัญญาณรบกวนน้อยกว่าสายแบบ UTP แต่ราคาสูงกว่า

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียล เป็นสายที่มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ประกอบด้วยสายตัวนำสัญญาณเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลาง เรียกว่า Inner Conductor หุ้มด้วยฉนวน Insulator Filter แล้วล้อมรอบด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นสายดิน (Ground) เรียกว่า Outer Conductor สายโคแอกเชียลมีข้อดีเรื่องความเร็วสูงในการส่งข้อมูล สามารถส่งได้ทั้งสัญญาณเสียงวีดีโอและข้อมูล ติดตั้งง่าย แต่มีข้อเสียที่ราคาแพงและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงด้วย

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) สายใยแก้วนำแสง เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ที่ต้องการความเร็วสูงมาก ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนสูง ลักษณะสายสัญญาณประกอบด้วยเส้นใย (Fiber) ทำจากใยแก้วสองชนิด ที่มีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ชนิดหนึ่งเป็นแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก การทำงานจะมีไดโอดเปล่งแสง (LED : Light Emited Diode) หรือไดโอดแบบเลเซอร์ (Laser Diode) ปล่อยแสงที่เข้ารหัสข้อมูล โดยใช้ความถี่จึงสามารถส่งรหัสข้อมูล ได้หลายช่องทางตามความถี่ต่าง ๆ กัน อุปกรณ์รับส่งข้อมูลแบบเส้นใยแก้วนำแสง มีข้อดีคือรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ใช้แสงในการส่งข้อมูล จึงไม่ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาณไฟฟ้ารบกวน มีการสูญเสียของสัญญาณต่ำ แต่มีข้อเสียคือราคาแพงกว่าสายสัญญาณประเภทอื่น ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง รับส่งข้อมูลได้ทางเดียว ต้องใช้สายสัญญาณสองเส้น เพื่อทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)

คลื่นไมโครเวฟ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ที่ใช้คลื่นวิทยุชนิดความถี่สูง เรียกว่าคลื่นไมโครเวฟ โดยอาศัยอากาศเป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ ที่ไม่มีตึกหรือภูเขาระดับสูง บังการเดินทางของคลื่น ระหว่างอาคาร โดยต้องมีจานสัญญาณ ติดตั้งไว้บนเสาหรืออาคารสูง ๆ การรับส่งข้อมูลแบบนี้ เหมาะสำหรับบริเวณที่เดินสายลำบาก มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนสูง ข้อเสียคือรับส่งสัญญาณได้ไม่ไกลมากนัก และต้องติดตั้งจานรับส่งสัญญาณบนเสาสูง ที่ไม่มีอาคารกีดขวางในทิศทางตรงกัน

ดาวเทียม (Satellite) ดาวเทียม เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้ดาวเทียม เป็นสถานีในการรับส่งสัญญาณข้อมูล กับสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดิน รับส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว่า 22,300 ตารางไมล์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกีดขวาง สัญญาณของภูมิประเทศ เช่น ภูเขา อาคารสูง สามารถ ส่งสัญญาณครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ มีข้อเสียคือต้องลงทุน และใช้เทคโนโลยีระดับสูง

อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)

หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสารมีหลายชนิดได้แก่

คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจาก การกดแป้นพิมพ์เปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
ลักษณะการทำงานของ Keyboard
ใช้ Keyboard controller เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key) ถูกกด และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard buffer เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด และ Keyboard controller จะส่ง Interrupt Request ไปยัง System Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และ Keyboard แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา




เมาส์ (Mouse)
ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่ม ของ Mouse (click)
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ
· Click
· Double Click
· Right Click
· Drag and Drop



ประเภทของ Mouse
· ลูกกลมควบคุม (Mechanical mouse) จะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์





แท่งชี้ควบคุม (Optical mouse ) จะเป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์

· แผ่นรองสัมผัส (Cordless mouse ) จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์



การทำงานของ Mouse
มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอลและจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่ ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน หมุนไปมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse
Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook

เมาส์แบบแทรกบอล ( Trackball )
มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ ใช้การหมุน ลูกบอลในการทำงาน ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop ทำงานโดยการหมุนลูกบอลโดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการ


จอยสติก( Joystick)

เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของรูปกราฟฟิกบนจอภาพ มีลักษณะเป็นก้านหรือคานโผล่จากด้านบนของกล่อง สามารถบิดไปในทิศทางต่างๆได้ ซึ่งขึ้นกับผู้ควบคุม ขณะที่ก้านนี้บิดไปจะมี Potentionmeters 2 ตัวที่ทำงานอิสระกันอยู่ภายในอุปกรณ์นี้ถูกทำให้หมุนไปโดย Potentionmeter ตัวหนึ่งจะรับรู้การเคลื่อนที่ในแนวทิศเหนื่อ/ใต้ ส่วนอักตัวหนึ่งรับรู้การเคลื่อนที่ในแนวตะวันออก/ตะวันตก ฉะนั้นตำแหน่งที่เป็นไปแต่ล่ะตำแหน่งของจอยสติก จะถูกแทนด้วยการผสมผสานของความต้านทานใน Potentionmeters โปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับกราฟฟิกสามารถจะตามร่องรอยทิศทางในตำแหน่งต่างๆกันของก้านนี้ได้




จอสัมผัส ( Touch screen) เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Outputใช้นิ้วมือสัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูล ที่ Input เข้าสู่ระบบ ส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคนจำนวนมาก ๆ เช่น นำตู้ ATM แบบ Touch screen ไปวางในห้างสรรพสินค้า การทำงานของ Touch screen จะใช้ Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y โดยมีการใช้สายไฟ 4 เส้น layer ละ 2 เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง 2 layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller








ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล พบในเครื่องPDA และ Pocket PC การทำงาน สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ PDA หรือ Pocket PC ซึ่งหน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสง เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ชี้บนจอภาพ บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้





สแกนเนอร์ (Scanning)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือสแกน (scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีส่องแสงไปยังวัตถุที่ต้องการสแกน แสงที่ส่องไปยังวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ เซลล์ไวแสง (Charge-Coupled Device หรือ CCD) ซึ่งจะทำการตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลทางดิจิตอล เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟิกก็ได้
สแกนเนอร์ (Scanner)เป็นอุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล


เครื่องอ่านบาร์โคด ( Bar Codes Readers)
เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers) เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ เช่น อ่านป้าย บอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้
รหัส Bar code ที่ใช้ในทาง ธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC) โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code) สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1 และแคบแทนค่าเป็น 0 การอ่าน ข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อน 1. เครื่องโอซีอาร์ (Optical character recognition)
โอซีอาร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักขระบนเอกสารต่าง ๆ และทำการแปลงข้อมูลดิจิตอลที่อ่านได้ไปเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ โออาร์อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์เฉพาะทางสำหรับแปลงเอกสารเข้าสู่คอมพิวเตอร์ หรืออาจหมายถึงซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ตัวอักษรจากข้อมูลที่ได้จาก สแกนเนอร์ก็ได้
การใช้โอซีอาร์ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เนื่องจากบ่อยครั้งจะมีข้อผิดพลาดในการตีความอักขระเกิดขึ้น โดยเฉพาะหากข้อความในเอกสารไม้ได้เป็นตัวเรียงพิมพ์ (เช่น เป็นลายมือเขียน) อย่างไรก็ดี โอซีอาร์ก็เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดต่าง ๆ ที่ต้องมีการจัดเก็บหนังสือเข้าสู่ไมโครฟิล์มหรืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เป็นต้น


เครื่องโอซีอาร์ (Optical character recognition)
โอซีอาร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักขระบนเอกสารต่าง ๆ และทำการแปลงข้อมูลดิจิตอลที่อ่านได้ไปเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ โออาร์อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์เฉพาะทางสำหรับแปลงเอกสารเข้าสู่คอมพิวเตอร์ หรืออาจหมายถึงซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ตัวอักษรจากข้อมูลที่ได้จาก สแกนเนอร์ก็ได้
การใช้โอซีอาร์ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เนื่องจากบ่อยครั้งจะมีข้อผิดพลาดในการตีความอักขระเกิดขึ้น โดยเฉพาะหากข้อความในเอกสารไม้ได้เป็นตัวเรียงพิมพ์ (เช่น เป็นลายมือเขียน) อย่างไรก็ดี โอซีอาร์ก็เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดต่าง ๆ ที่ต้องมีการจัดเก็บหนังสือเข้าสู่ไมโครฟิล์มหรืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เป็นต้น





ไมโครโฟน ( microphone ) คืออุปกรณ์รับสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่น ๆ ไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟน จะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลงกล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวรกล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร

กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร



เว็บแคม ( Webcam ) หรือ ชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference ก็แล้วแค่ความเข้าใจแต่ละคน เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

อุปกรณ์แสดงผล



5. เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่อง พิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตขนานที่มีขนาด 25 พิน เพื่อทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการ ประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักษร หรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์นี้ใช้หลักการสร้างจุดลงบนกระดาษโดยตรงหัวพิมพ์ของ เครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม(pin)เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษหัว เข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็นข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็ม อื่นเพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึกลงบนกระดาษก็จะทำให้เกิดจุดความคมชัดของข้อมูล บนกระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุดถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ ยิ่งคมชัดมากขึ้นเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้หลายๆชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะยัง คงมีใช้อยู่ตามองค์กรราชการ
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์พ่นหมึกสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกัน มากๆรวมไปถึงพิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นเป็นการพ่นหมึกหยดเล็กๆไปที่กระดาษหยดหมึกจะมี ขนาดเล็กมากแต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์แบบซ้อนแผ่นก๊อปปี้ไม่ได้แต่ มีความสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วและเสียงไม่ดังมีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็นหน้าต่อนาทีPPM(PagePerMinute)ความสามารถของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ ถูกพัฒนามาให้มีประสิทธ์ขึ้นเลื่อยๆ นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ต้องมีกระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน ณปัจจุบัน(2545)ความสามารถของเครื่องพิมพ์นั้นสูงสุดถึง 4800x1200 dpi (Dot per inch)


เครื่องพิมพ์เลเซอร์



3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์เบบเดียวกันกับเครื่องถ่าย เอกสารทั่วไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุนเพื่อสะท้อนไปยัง ลูกกลิ้งไวแสงซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกวาดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบที่อยู่บนลูกกลิ้งจะ ไปทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลาย ติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างถูกต้อง ทำให้ความละเอียดของจุดภาพบนกระดาษสูงมากงานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพ และตัวหนังสือที่คมชัดสวยงามการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เสียงจะไม่ดัง
4. พล็อตเตอร์ (plotter) พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆลงบนกระดาษที่ทำมา เฉพาะงานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรมและงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิกพล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษโดย สามารถใช้ปากกาได้68สีความเร็วในการทำงานของพล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้ว ต่อวินาที (Inches Per Second : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ

อุปกรณ์แสดงผล

3. Sound Card (การ์ดเสียง )เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพดังนั้นการ์ดเสียงจึง เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการ์ดเสียงได้รับ การพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบันความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลัก2ประการคืออัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของA/DConverterว่ามี ความละเอียดมากน้อยเพียงใดทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้ เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุดความละเอียดของA/DConverterนั้นถูกกำหนดโดย จำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุตเช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย




4. ลำโพง(Speaker)เป็นอุปกรณ์แสดงเสียงโดยการ แปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากการ์ดเสียงได้เป็นพลังงานเสียงที่ไพเราะดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จะไม่ขึ้นอยู่กับการ์ดเสียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่แท้ ที่จริงแล้วการขับพลังเสียงของลำโพงก็มีผลต่อการให้กำเนิดเสียงที่ไพเราะ ลำโพงแบบฟลูเรนจ์ (Full Range)ลำโพงที่นิยมซื้อใช้กับคอมพิวเตอร์โดย ทั่ว ๆ ไปนั้น จะเป็นลำโพงแบบฟลูเรนจ์ (Full Range) ซึ่งจะตอบสนองความถี่เสียงแบบกว้าง ๆ ซึ่งยังขาดความถี่ในช่วงที่เป็นความถี่ต่ำ และความถี่สูงได้ทั้งหมด ลำโพงพร้อม Subwooferสำหรับผู้ที่ชอบเสยง นุ่ม ๆ และเสียงแหลมใส ควรเลือกซื้อชุดลำโพงที่แยกเสียงเบส และเสียงแหลมที่ชัดเจน ซึ่ง Subwoofer จะเป็นการแยกลำโพงออกเป็น 3 จุด คือ แยกเป็นเสียงซ้าย-ขวา และลำโพงตัวกลางสำหรับแสดงเสียงทุ่ม ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทางชุดลำโพงสำหรับโฮมเธียเตอร์ เพื่อให้ได้เสียงแบบรอบทิศทาง (Surround System) ทั้งระบบ DTS และ Dolby Digital Surround โดยมีลำโพงวางอยู่รอบทิศทางหลาย ๆ จุด โดยภายในชุดลำโพง จะต้องมีชุดขยายเสียง (Amplifier) ที่จะขับพลังเสียงให้กับลำโพง โดยเราสามารถปรับระดับความดังของเสียงได้ที่ Volume และปรับคุณภาพเสียง ทุ่ม กลาง และแหลม เพื่อคุณภาพของเสียงที่ได้อีกด้วย

อุปกรณ์แสดงผล

2.จอแสดงผลจอแสดงผล มีหน้าที่สำหรับแสดงกราฟิกสู่สายตา ของมนุษย์อุปกรณ์แสดงผลคอมพิวเตอร์กราฟิกมีด้วยกันหลายชนิดเช่นจอภาพเครื่อง พิมพ์พล็อตเตอร์โปรเจคเตอร์เป็นต้นแต่ที่นิยมใช้ในการแสดงผลภาพกราฟิกกันมาก ที่สุดก็คือจอภาพและเครื่องพิมพ์จอภาพสามารถตอบสนองและแสดงผลลัพธ์ให้ปรากฏ ได้ทันทีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีจอภาพรูปร่างของจอภาพคอมพิวเตอร์จะ คล้ายกับจอโทรทัศน์จอภาพประกอบไปด้วยจุดภาพเล็กๆเรียงต่อกันไปเป็นตาราง เรียกว่าพิกเซล(Pixel)ความละเอียดของจอภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนพิกเซล จอภาพในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ
(1). จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) เป็นจอภาพของคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ มีหลักการยิงแสงด้วยปืนอิเล็กตรอน (Electron Gun) เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์ ปืนอิเล็กตรอนจะมีด้วยกัน 3 กระบอกสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เมื่อยิงลำแสงทั้งสามผสมกันในอัตราส่วนต่าง ๆ จะปรากฏเห็นเป็นภาพสี เรืองแสงบนจอภาพ แสงที่เกิดขึ้นบนจอภาพนี้จะคงอยู่ในช่วงระยะเสี้ยววินาทีและจะดับหายไป ดังนั้นจึงต้องมีการกลับมายิงซ้ำใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดเป็นภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบหรือขาดหายไป
(2). จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) ใช้หลักการเรืองแสงของผลึกเหลวที่บรรจุในจอภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยประจุ ไฟฟ้า จอภาพแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีปืนอิเล็กตรอน ดังนั้นจึงมีโครงสร้างที่แบนราบ กินไฟน้อย มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการพกพา แต่มีราคาแพง จอภาพชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิด คือ ชนิด Passive Matrix มีราคาต่ำกว่า แต่มีความคมชัดน้อย เมื่อมองจากบางมุมอาจมองไม่เห็นภาพบนจอภาพ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Active Matrix มีราคาสูงกว่า แต่มีความคมชัดและแก้ปัญหาการมองไม่เห็นภาพบางมุมได้ดีขึ้น

อุปกรณ์แสดงผล

1.ชิปประมวลผลกราฟิกชิปประมวลผล กราฟิก (Graphics Processing Unit-GPU) เรียกสั้น ๆ ว่าชิปกราฟิก เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลภาพที่จะนำมาแสดงบน หน้าจอภาพ ยิ่งชิปประมวลผลการฟิก นี้มีประสิทธิภาพดีมากซึ่งจะทำให้แสดงผลที่ซับซ้อนได้ เช่น ภาพกราฟ ฟิก 3 มิติ ซึ่งเราสามารถพบได้ในเกมส์ต่าง ๆ เป็นต้นประเภทของชิปประมวลผลในปัจจุบันเราแบ่งชิปประมวลผลที่ใช้งานอยู่ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบันออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบ Integrated และแบบ Dedicated ซึ่งจะมีข้อเสียดังนี้
(1) ชิปประมวลกราฟิกแบบ Integratedชิปกราฟิกบางประเภทจะถูกรวมเข้า ไว้ในเมนบอร์ดของเครื่อง (Integrated) หรือที่เรียกว่าชิปกราฟิกแบบ On-Board ซึ่งมักจะไม่มีหน่วยความจำ VRAM (หน่วยความจำเฉพาะสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแสดงผล ) แยกออกมา แต่จะดึงหน่วยความจำที่เป็นระบบที่เป็น RAM มาใช้ข้อดีของชิปประมวลผลเหล่านี้คือ สามารถทำงานได้และมีราคาไม่สูงมาก นัก แต่ชิปกราฟิกแบบ Integrated น้นจะมีประสิทธิภาพการทำงาน จึงทำให้เล่นเกมได้ไม่ดีสักเท่าไหร่ (เพราะ RAM ทำงานช้ากว่า VRAM พอสมควร ดังนั้นการแชร์แบบนี้จึงมีประสิทธิภาพสู้มี VRAM แยกออกมาไม่ได้)
(2) ชิปประมวลผลกราฟฟิกแบบ Dedicatedในปัจจุบันสำหรับผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพการแสดงผลสูง จะซื้อการ์ดแสดงผลที่ติดตั้ง ชิปประมวลผลไว้บนตัวการืดมาติดตั้งเพิ่มบนสล็อต AGP หรือสล็อตรุ่นใหม่ ๆ อย่าง PCLx (PCI Express) เป้นต้น ซึ่งจะมีหน่วยความจำ VRAM แยกออกมา (ยกเว้นบางรุ่นที่มีราคาถูกก็อาจดึงหน่วยความจำแรมของเครื่องมา ใช้) ข้อดีของชิปประมวลผลกราฟิกแบบนี้คือมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูง และสา มารถอัพเกรดหรือเปลี่ยนการ์ดตัวใหม่ มาใช้งานได้ทันที สำหรับการใช้งาน โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ อย่าง Windows Vista ซึ่งมักต้องการประสิทธิภาพในการแสดงผลสูงนัก

บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์

บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์






องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )

หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันใน
สังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์






องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)


คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

บุคลากร (Peopleware)

เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น


ข้อมูล Data เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของคอมพิวเตอร์


ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก คือ
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีราคาแพงที่สุด รวมทั้งต้องอยู่ทีห้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิ และปราศจากฝุ่นละออง ทำให้ต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น จึงสามารถจัดหาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้จำนวนหลาย ๆ คน นำมาใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน เช่นการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น รวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฎิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซูเปอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักทีเรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน โดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวลผลแต่ละตัวก็ทำงานได้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัว แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อม ๆ กัน
ความเร็วของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งพันล้านวินาที และ จิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาทีซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้ถึง 128 จิกะฟลอป และใช้เครื่องที่มี สายส่งข้อมูล (data bus) กว้าง 32 หรือ 64 บิต
จากคุณสมบัติของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ควรนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณมากๆ เช่น งานด้านกราฟฟิก หรือการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
2. เมนเฟรม (Mainframe)
เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไป จัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงปลาย ค.ศ 1950 บริษัท IBM จัดเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเกิดจากการมีส่วนแบ่งตลาดในการขายเครื่องระดับเมนเฟรมถึง 2 ใน 3 ของผู้ใช้เครื่องเมนเฟรอทั้งหมด เครื่องเมนเฟรมจะเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ต้องอยู่ในห้องที่ได้รับการอุณหภูมิ และปราศจากฝุ่นละอองเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์
เครื่องเมนเฟรมนิยมมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะได้การพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวณประมวลผลน้อยกว่า หน่วยเมนเฟรมจัดอยู่ในความเร็วของหน่วย เมกะฟรอป (megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ 1960 ต่อมาจากบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ประกาศตัวมินิคอมพิวเตอร์ DEC POP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ 1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้ประมาณ 200 คนพร้อม ๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือความเร็วในการทำงาน เนื่องจาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่าการควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ การะทำได้ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้สื่อที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม ดังนั้นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จึงจัดได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง


คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้
1. หน่วยเก็บ (Storage) หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล(Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนด
4. ความน่าเชื่อถือ (Sure) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือหากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน


วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า วงจร IPOS cycle (input process output storage cycle)
1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) และเมาส์ (Mouse) เป็นต้น
2. ประมวลผล (Porcess) เมื่อคอมพิวเตอร์ รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณเกรดเฉลี่ยเป็นต้น
3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ทำหน้าทีแสดงผลลัพธ์ที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น
4. จัดเก็บข้อมูล (storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ (flopy disk) เป็นต้น
























คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย

บทที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

รายงาน เรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
จัดทำโดย
นางสาว สุภาภรณ์ ตีบจันทร์ เลขที่ 39
นางสาว อรพิน สินปรุ เลขที่ 43
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
เสนอ
คุณครู ศิริพร วีระชัยรัตนา
ครูผู้สอน
โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง 30201
สำนักงานเขตพื้ที่การศึกษานครราชสีมา เขต2
กระทรวงศึกษาธิการ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553